กองช่าง

คำแนะนำการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร


กองช่าง
คำแนะนำการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร

 

คำแนะนำการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร

 

            กองช่าง    เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดของเทศบาลเมืองปทุมธานี  มีหน้าที่ควบคุมดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานในด้านการควบคุมอาคาร  และงานขออนุญาตปลูกสร้างอาคารการควบคุมผังเมืองและการจัดทำผังเมือง  งานวิศวกรรมโยธา  งานสถาปัตยกรรม  งานบำรุงรักษาทางและสะพาน งานบำรุงรักษาสาธารณูปการ งานติดตั้งไฟฟ้า  งานสวนสาธารณะและงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย  มีการแบ่งงาน  ดังนี้

1. ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง  ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับ  งานด้านวิศวกรรม   งานสถาปัตยกรรม งานด้านการวางผังเมือง และการขออนุญาตก่อสร้าง   ดัดแปลง   รวมถึงการต่อเติมอาคารต่างๆ

2. ฝ่ายโยธา  ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริการสาธารณะต่างๆ  เช่น  งานไฟฟ้า  สาธารณะ  การดูแลและบำรุงรักษาสถานที่ต่างๆ

 

ทำอย่างไรจึงต้องขออนุญาตจากเทศบาล

          เพื่อเป็นการให้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก  รวดเร็ว  และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการปฏิบัติรูประบบราชการ จึงกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารดังนี้

- ก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่

- ดัดแปลงอาคาร  เพิ่มหรือขยายพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดเกินกว่า 5 ตารางเมตร  เปลี่ยนหรือขยายหลังคา  อันเป็นการเพิ่มน้ำหนักแก่หลังคาเดิม  เกินว่าร้อยละ 10

- รื้อถอนอาคารที่มีส่วนสูงของอาคารเกินกว่า 15  เมตร  ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือสาธารณะ  น้อยกว่า 2.00 เมตร

- เคลื่อนย้ายอาคาร

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร  พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

1) การขออนุญาตก่อสร้างอาคารต้องเตรียมหลักฐาน  ดังนี้

-  สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน  อย่างละ 1 ชุด

-  สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต และเจ้าของที่ดิน   อย่างละ 1 ชุด

-  แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ             อย่างละ 5 ชุด

-  สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่นๆ)

-  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทฯ (ผู้มี)   อำนาจลงชื่อ   แทนนิติบุคคล ที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน

2) การเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง

-  หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน   (กรณีผู้ขออนุญาตมิได้เป็นเจ้าของที่ดิน)

-  หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารร่วมผนัง   (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)

-  หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน  (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)

-  หนังสือแสงความยินยอมของผู้ควบคุมงานตาม มาตรา 29     

-  หนังสือรับรองประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว  (กรณีอยู่ในข่ายควบคุมอาคารตาม พ.ร.บ. วิศวกรรม และพ.ร.บ.วิชาชีพสถาปัตยกรรม)

-  รายการคำนวณ 1 ชุด   (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและไฟเป็นส่วนใหญ่ หรืออาคารสาธารณะอาคาร

-  แบบระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อดักไขมันสำหรับบ้านพักอาศัย (ตามแบบมาตรฐานกรมโยธาธิการหรืออื่นๆ)

-  แผนผังโครงการจัดสรรที่ดิน และหนังสือรับรองฯ   (กรณีอาคารเข้าข่ายการจัดสรรที่ดิน)

-  เตรียมแบบและใบอนุญาตเดิมที่ได้รับจากเทศบาลเมืองปทุมธานี จำนวน 1 ชุด (กรณีดัดแปลง.ต่อเติมหรือต่ออายุใบอนุญาต)

-  อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะต้องแจ้ง  กองช่างทำการตรวจสอบเพื่อขอใบรับรองใช้อาคารก่อนเปิดใช้อาคารหรือ ให้ผู้อื่นใช้

3)  ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป

อาคารพาณิชย์  อาคารขนาดใหญ่  อาคารประเภทควบคุมการใช้  รวมระยะเวลาในการดำเนินการ ไม่เกิน 28 วันทำการ

-  อาคารตามแบบมาตรฐานบริการประชาชน  เมื่อเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง  รวมระยะเวลาทำการ ไม่เกิน 5 วัน

-  ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง  จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร

ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต

- ใบอนุญาตก่อสร้าง                                 ฉบับละ        20    บาท

-  ใบอนุญาตดัดแปลง                               ฉบับละ        10    บาท

-  ใบอนุญาตรื้อถอน                                 ฉบับละ        10    บาท

- ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้                           ฉบับละ        20    บาท

- ใบรับรอง                                            ฉบับละ        10   บาท

- ใบแทนใบอนุญาตหรือแทนใบรับรอง              ฉบับละ           5    บาท

ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต

- ใบอนุญาตก่อสร้าง                          ฉบับละ     20    บาท

- ใบอนุญาตดัดแปลง                         ฉบับละ     10   บาท

-  ใบอนุญาตรื้อถอน                          ฉบับละ     10   บาท

-  ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย                      ฉบับละ     10   บาท  

ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร

- อาคารไม่เกิน 2 ชั้น สูงไม่เกิน 12  เมตร  ตารางเมตรละ 50 สตางค์

- อาคารไม่เกิน 3 ชั้น และสูงเกิน 12  เมตร  แต่ไม่เกิน 15  เมตร ตร. เมตรละ 2 บาท

- อาคารสูงเกิน 3 ชั้น สูงเกิน 15  เมตร ตารางเมตรละ 4  บาท

- ป้าย ตารางเมตรละ 4 บาท

          สำหรับประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปทุมธานีก่อนดำเนินการก่อสร้าง   ดัดแปลงรื้อถอน   ต่อเติม หรือเคลื่อนย้ายอาคารต่างๆ  ในเขตเทศบาลฯ   โปรดติดต่อขออนุญาตได้ที่กองช่าง  เมื่อท่านทำการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จให้ยื่นคำร้องขอหมายเลขประจำบ้านได้ที่งานทะเบียนราษฎรเทศบาลเมืองปทุมธานี    

ด้านการบริการประชาชน   โดยการกำหนดระยะเวลแล้วเสร็จของงาน

1. กระบวนการที่แล้วเสร็จภายใน 1 วัน

- ถ่ายแบบบ้านบริการ ระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน                         10        นาที

- คำร้องขอถ่านสำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร

          รื้อถอนอาคาร (01)       ระยะเวลาแล้วเสร็จของาน                   10        นาที

2. กระบวนการที่แล้วเสร็จภายใน 2-15 วัน

- คำร้องซ่อมแซมไฟฟ้า สาธารณูปการ ระยะเวลาแล้วเสร็จของาน    2   วัน

- คำร้องขออนุญาตบ้านเลขที่ ระยะเวลาแล้วเสร็จของาน    3    วัน  

- คำร้องขอตัดแต่งต้นไม้ ระยะเวลาแล้วเสร็จของาน    2    วัน

- ขออนุญาต ก่อสร้าง ดัดแปลง  รื้อถอนอาคารที่พักอาศัย  ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานไม่เกิน 15 วัน

3. กระบวนการงานที่ใช้เวลามากกว่า 15 วัน

              - ขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน อาคารควบคุมการใช้ ไม่เกิน 28 วัน

4. งานธุรการกองช่าง ปฏิบัติงานตามโครงการปรับขยายเวลาให้บริการประชาชน ในการมาติดต่อขอรับบริการ ประชาชน  เพื่อรับเรื่องราวในเวลา  08.00-17.00 น. โดยไม่พักกลางวันทุกวัน ยกเว้นวันหยุดราชการ

พ.ร.บ. การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543

การขุดดิน

-  ความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตรหรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน  หนึ่งหมื่นตารางเมตร

การถมดิน

- ทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำที่เพียงพอ

- การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร  จะต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

เอกสารประกอบการขออนุญาตขุดดินและถมดิน

1. แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดินและถมดิน

2. แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง

3. รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 6

4. วิธีการขุดดินและถมดิน

5. ระยะเวลาทำการขุดดินและถมดิน

6. ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

7. ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง

8. ภาระผูกพันต่างๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน

9. เอกสารและรายละเอียดอื่นๆ

ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต

- ใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดิน             ฉบับละ       500   บาท

- ค่าคัดสำเนาหรือถ่ายเอกสาร               หน้าละ            1   บาท

ค่าใช้จ่าย

- ค่าพาหนะเดินทางไปตรวจสอบสถานที่ / ค่าเบี้ยเลี้ยง ในการเดินทางไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน

พ.ร.บ. ควบคุมน้ำเชื้อเพลิง พ.ศ.2542

            ผู้ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ได้แก่ กิจการที่ต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะประกอบการได้ เฉพาะที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกรองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4 ประเภท คือ

1. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ก.

2. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ข.

3. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ค. ลักษณะที่ 2

4. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท จ. ลักษณะที่ 2

ขั้นตอนในการดำเนินการ

1. ยื่นคำขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานต่างๆ ตามแบบ ธพ.น.3

2. การตรวจสอบคำขออนุญาต ร่วมกับกรมธุรกิจพลังงาน

3. ตรวจสอบสถานที่ประกอบกิจการ

4. พิจารณาและตรวจสอบเรื่องราวการขออนุญาตพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

5. แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขออนุญาตทราบ

6. การแจ้งทดสอบและตรวจสอบระบบความปลอดภัย

7. การทดสอบและตรวจสอบระบบความปลอดภัย

8. การออกใบอนุญาตประกอบกิจการ โดยออกใบอนุญาตตามแบบ ธพ.น4 และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

9. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3

- ผู้ขออนุญาตให้ยื่นแบบ ธพ.น5 กับเทศบาล

- โดยขั้นตอนเช่นเดียวกับ ข้อ 6-7

10. การต่อใบอนุญาต. ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่อใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอตามแบบ ธพ.น 6  ภายใน 60  วัน  ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ